โครงงานคอมพิวเตอร์ คือ ผลงานที่ได้จากการศึกษาค้นคว้าตามความสนใจ ความถนัดและความสามารถ
ของผู้เรียนรวมทั้งเชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ และความรู้ด้าน คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี
ความสำคัญของโครงงานคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์มีองค์ประกอบหลักดังต่อไปนี้
- เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับซอฟต์แวร์และเครื่องคอมพิวเตอร์
- เลือกเรื่องที่จะศึกษาค้นคว้า พัฒนาด้วยตนเองตามความสนใจและระดับความรู้
- นักเรียนเป็นผู้วางแผนในการศึกษา ค้นคว้า เก็บรวบรวมข้อมูลหรือประดิษฐ์คิดค้น
ประโยชน์ของการทำโครงงานคอมพิวเตอร์
1. ได้เรียนรู้แนวทางการแก้ปัญหาที่เกิดจากการทำโครงงาน
2. ส่งเสริมกระบวนการคิด การแก้ปัญหา และการตัดสินใจ
3. ได้รับประสบการณ์ในการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อแก้ปัญหา
4. ส่งเสริมให้ใช้เวลาอย่างเป็นประโยชน์และสร้างสรรค์
หลักการสำคัญของการเรียนรู้แบบโครงงาน
1. ต้องเกิดจากความอยากรู้ของผู้เรียน ผู้เรียนมีความสนใจหรือต้องการคำตอบในเรื่องนั้นๆ
2. ผู้เรียนเป็นผู้เลือกวิธีการเรียนและแหล่งการเรียนรู้
3. ผู้เรียนวางแผนปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบ มีวัตถุประสงค์ชัดเจนและปฏิบัติตามขั้นตอน
4. มีการใช้กระบวนการต่างๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งองค์ความรู้และผู้เรียนเป็นผู้สรุปองค์ความรู้
5. ผู้เรียนสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน
6. ผู้เรียนมีโอกาสได้แลกเปลี่ยนองค์ความรู้กับผู้อื่น
7. ต้องมีการน าเสนอเพื่อรายงานผลการศึกษาจากการทำโครงงาน
8. ต้องมีการประเมินผลเพื่อให้เกิดการพัฒนางาน
คุณค่าของการทำโครงงานคอมพิวเตอร์
1. สร้างความสำนึกและความรับผิดชอบในการศึกษาและพัฒนาระบบด้วยตนเอง
2. เปิดโอกาสให้นักเรียนได้พัฒนาและแสดงความสามารถตามศักยภาพของตนเอง
3. เปิดโอกาสให้นักเรียนได้ศึกษา ค้นคว้า และเรียนรู้ในเรื่องที่นักเรียนสนใจได้ลึกซึ้งกว่าการเรียน
ในห้องตามปกติ
4. ส่งเสริมและพัฒนากระบวนการคิด การแก้ปัญหา การตัดสินใจ รวมทั้งการสื่อสารระหว่างกัน
5. กระตุ้นให้นักเรียนมีความสนใจในการเรียนวิชาสาขาคอมพิวเตอร์ และมีความสนใจที่จะประกอบอาชีพ
ทางด้านนี้
6. ส่งเสริมให้นักเรียนได้ใช้เวลาอย่างเป็นประโยชน์ในทางสร้างสรรค์
7. สร้างความสัมพันธ์ระหว่างนักเรียนกับครูและชุมชน รวมทั้งส่งเสริมให้ชุมชนสนใจคอมพิวเตอร์และ
เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องมากขึ้น
8. เป็นการบูรณาการเอาความรู้จากวิชาต่าง ๆ ที่ได้รับมาจัดทำผสมผสานกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์เป็น
โครงงานเพื่อน าเสนอต่อชุมชน
ขั้นตอนการดำเนินงาน
1. เตรียมวัสดุอุปกรณ์และสถานที่ให้พร้อมก่อนลงมือปฏิบัติ
2. มีสมุดบันทึกกิจกรรมประจำวันว่าได้ทำอะไรไป ได้ผลอย่างไร มีปัญหาและข้อคิดเห็นอย่างไร
3. ปฏิบัติกิจกรรมด้วยความรอบคอบ และบันทึกข้อมูลไว้ให้เป็นระเบียบและครบถ้วน
4. คำนึงถึงความประหยัดและความปลอดภัยในการทำงาน
5. พยายามทำตามแผนงานที่วางไว้ในตอนแรก แต่อาจเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมบ้างหลังจากที่ได้เริ่มต้น
ท างานไปแล้วถ้าคิดว่าจะทำให้ผลดีขึ้น
6. ควรแบ่งงานเป็นส่วนย่อยๆและทำแต่ละส่วนให้สำเร็จ ก่อนทำส่วนอื่นต่อไป
7. ควรทำงานส่วนที่เป็นหลักสำคัญๆให้เสร็จ จึงทำส่วนที่เป็นส่วนประกอบ หรือส่วนเสริมเพื่อตกแต่ง
8. อย่าทำงานต่อเนื่องจนเมื่อยล้า จะทำให้ขาดความระมัดระวัง
9. อย่าทำโครงงานใกล้ถึงวันกำหนดส่ง ควรวางแผนการทำงานล่วงหน้าให้เป็นระบบ
การเขียนรายงาน
การเขียนรายงานเป็นการอธิบาย และ บอกรายละเอียดเกี่ยวกับการจัดทำโครงงาน สื่อความหมายเพื่อให้
ผู้อื่นได้เข้าใจแนวคิด วิธีดำเนินการศึกษาค้นคว้า ข้อมูลที่ได้ ตลอดจนข้อสรุปและข้อเสนอแนะต่างๆ เกี่ยวกับ
โครงงานนั้น ในการเขียนรายงาน ควรใช้ภาษาที่อ่านง่าย ชัดเจน กระชับ และตรงไปตรงมา ให้ครอบคลุมหัวข้อ
ต่างๆเหล่านี้
1. ชื่อโครงงาน
2. ชื่อผู้ทำโครงงาน
3. ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา
4. บทคัดย่อ อธิบายถึงที่มา ความสำคัญ วัตถุประสงค์ วิธีดำเนินการ และผลที่ได้ โดยย่อ
5. กิตติกรรมประกาศ คำขอบคุณ เป็นคำกล่าวขอบคุณบุคคลหรือหน่วยงาน ที่มีส่วนช่วยทำให้โครงงาน
สำเร็จ
6. สารบัญ
6.1สารบัญตาราง (ถ้ามี)
6.2สารบัญภาพ (ถ้ามี)
ผลงานที่นำมาเสนอหรือจัดแสดงควรประกอบด้วยสิ่งต่อไปนี้
1. ชื่อโครงงาน
2. ชื่อผู้จัดทำโครงงาน
3. ค าอธิบายถึงที่มาและความสำคัญของโครงงาน
4. วิธีการดำเนินการ
5. การสาธิตผลงาน
6. ผลการสังเกตและข้อสรุป
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น