Frost & Sullivan
“ภูมิคุ้มกันบำบัด” เอื้อประโยชน์ในการรักษาโดยมุ่งเน้นไปที่ความสามารถของระบบภูมิคุ้มกันในการรับมือกับมะเร็ง ทั้งยังมีศักยภาพที่จะพลิกโฉมการรักษาโรคมะเร็งได้ด้วย มันช่วยสร้างมิติใหม่ทั้งในแง่ของการ ยืดอายุผู้ป่วยรายคนให้ยาวนานขึ้นและการช่วยเหลือผู้ป่วยได้เป็นจำนวนมาก ยกตัวอย่างเช่น โรคมะเร็งไฝ ที่ถือเป็นความต้องการสำคัญทางการแพทย์ซึ่งยังไม่ได้รับการตอบสนองแถมมีทางเลือกในการรักษาที่จำกัด ในแต่ละปีมีการตรวจพบผู้ป่วยมะเร็งไฝมากกว่า 160,000 รายทั่วโลก และมียอดผู้เสียชีวิตรายปีสูงถึง 40,000 ราย
ความหวังของวิธีรักษาแบบภูมิคุ้มกันบำบัดขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของมันเมื่อถูกนำไปใช้กับผู้ป่วยในวงกว้าง เมื่ออัลกอริทึมที่มีประสิทธิภาพในเชิงมะเร็งวิทยาเป็นที่ตระหนัก ศักยภาพของมันจะเพิ่มขึ้นแบบ ทวีคูณ ขณะที่ตัวยับยั้งการทำงานที่จุดตรวจจับครองตำแหน่งประเด็นสนทนายอดนิยมในแวดวงการแพทย์ วิธีการรักษาอื่นๆ ที่ดูมีความหวังได้แก่ การปลูกสร้างแบบใหม่ระดับโมเลกุล เช่น การดัดแปลงโมเลกุลรับสัญญาณให้เป็นแบบลูกผสม (CARs), การผสมผสานวิทยาการรักษาด้วยยาเก่าและใหม่, ตลอดจนการ ปรับเกณฑ์การให้ยาและวัคซีน ตลาดของตัวยับยั้งการทำงานที่จุดตรวจจับมีมูลค่า 3 พันล้านเหรียญในปี 2015 และคาดว่าจะแตะ 21.1 พันล้านเหรียญภายในปี 2020 กล่าวได้ว่ามีอัตรการเติบโตสูงถึง 139%
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น